Botulism Bureau of Epidemiology, DDC, MPH

1. ลักษณะโรค
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากสารพิษที่รุนแรง โดยรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไป ซึ่งแตกต่างจาก infant botulism ที่เชื้อจะสร้างสารพิษในลำไส้ ลักษณะอาการที่สำคัญจะเกิดกับระบบประสาทของร่างกาย ได้แก่ หนังตาตก การมองเห็นไม่ชัด หรือเห็นเป็นสองภาพ ปากแห้ง และเจ็บคอ เป็นอาการนำ อาการเหล่านี้อาจจะตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสองข้างเท่ากัน ในผู้ป่วยที่ยังรู้สติดี อาจพบอาการอาเจียนและท้องเดินในระยะแรกของโรค มักไม่มีไข้ ยกเว้นในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 3 - 7 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ จากการหายใจล้มเหลวหรือการติดเชื้อแทรกซ้อน การรักษาด้วยการช่วยหายใจและให้สารต้านพิษโดยเฉพาะ จะช่วยลดอัตราป่วยตายในระยะที่หาย การฟื้นตัวจะค่อนข้างช้า (เป็นเดือนหรือในบางรายเป็นปี) การวินิจฉัยกระทำได้โดยตรวจพบสารพิษเฉพาะในน้ำเหลืองหรืออุจจาระของผู้ป่วยหรือการเพาะเชื้อพบ Clostridium botulinum การตรวจพบเชื้อในอาหารที่สงสัย อาจไม่ช่วยในการวินิจฉัย เนื่องจากสปอร์ของเชื้อนี้ตรวจพบได้จากสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นการตรวจพบสารพิษจึงสำคัญกว่า
2. เชื้อต้นเหตุ
ที่พบการระบาดในคนมักเกิดจากสารพิษ type A, B และ E อาจพบ type F และ G ได้แต่น้อย การระบาดของ type E การระบาดของ type E มักพบสาเหตุจากเนื้อปลา อาหารทะเล มักพบจากการปรุงอาหารกระป๋องที่ไม่ถูกวิธี สารพิษจะถูกทำลายด้วยความรู้ แต่การทำลายสปอร์ต้องใช้ความร้อนสูงกว่ามาก สารพิษ type E สามารถสร้างขึ้นอย่างช้า ๆ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าตู้เย็นธรรมดา คือ ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส
3. การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลก มักพบผู้ป่วยประปรายในครอบครัว การระบาดในชุมชนพบได้น้อยมาก ที่พบมักเกิดจากอาหารกระป๋องที่กระป๋องอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์
4. แหล่งรังโรค
ดิน ลำไส้ของสัตว์ รวมทั้งปลา
5. วิธีติดต่อ
รับประทานอาหารที่มีสารพิษปนอยู่ ซึ่งมักเกิดจากการอุ่นอาหารด้วยอุณหภูมิไม่เพียงพอระหว่างบรรจุกระป๋อง และรับประทานโดยไม่ได้อุ่นอีก การเกิดพิษที่พบในประเทศสหรัฐอเมริกา มักเกิดจากอาหารและผลไม้กระป๋องที่ทำเองในครัวเรือน พบได้บ้างจากเนื้อในประเทศญี่ปุ่น มีสาเหตุจากเนื้อปลา
6. ระยะฟักตัว
อาการทางประสาท มักจะเริ่มปรากฎในเวลา 12 - 36 ชั่วโมง บางครั้งอาจกินเวลาหลายวัน หลังรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน โดยทั่วไปยิ่งระยะฟักตัวสั้น อาการของโรคก็จะยิ่งรุนแรง และมีอัตราตายที่สูงขึ้น
7. ระยะติดต่อ
ไม่มีความสัมพันธ์
8. ความไวรับและความต้านทานต่อการติดเชื้อ
ส่วนใหญ่จะไวต่อสารพิษ
9. วิธีควบคุมโรค
ก. มาตรการป้องกัน :
1) ควรมีการตรวจสอบมาตรฐาน และควบคุมการผลิตอาหารกระป๋องและอาหารสำเร็จรูป
2) ไม่รับประทานอาหารกระป๋องที่มีลักษณะบวม และไม่ชิมอาหารกระป๋องที่มีกลิ่น
ข. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม
1) การรายงาน : รายงานผู้ป่วยที่สงสัยแก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทันที
2) การแยกผู้ป่วย : ไม่ต้อง
3) การทำลายเชื้อ : อาหารที่มีการปนเปื้อน ควรทำให้ร้อนจนเดือนก่อนทิ้งไปหรือฝังดินให้ลึก เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์กินเข้าไป ภาชนะที่ปนเปื้อนอาจต้มหรือแช่คลอรีน เพื่อทำงานสารพิษ
4) การแยกผู้ต้องสงสัย : ไม่ต้อง
5) การให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส : ไม่ต้องในรายที่เพียงสัมผัสโดยตรง แต่ในรายที่รับประทาน ควรสวนถ่าย ล้างท้อง และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด การตัดสินใจให้สารต้านพิษ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
6) การสอบสวนผู้สัมผัส : ศึกษาประวัติการรับประทานอาหารในผู้ป่วย และเก็บตัวอย่างอาหารที่สงสัย เพื่อตรวจและทำลาย
7) การรักษาจำเพาะ : โดยการให้ trivalent botulineal antitoxin (type A, B และ E) เข้ากล้ามหรือทางหลอดเลือดดำ โดยขอได้จากศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรเก็บตัวอย่างน้ำเหลืองเพื่อตรวจหาชนิดของสารพิษก่อนการฉีด Antitoxin ควรย้ายผู้ป่วยไปในสถานที่รักษาที่สามารถช่วยการหายใจได้ทันที
ค. มาตรการในระยะระบาด :
เมื่อสงสัยผู้ป่วยโรคโบทูลิสซึม แม้เพียง 1 ราย ควรสงสัยว่าอาจมีการระบาดเป็นกลุ่มได้ ควรตรวจหาอาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปที่ทำเองในครัวเรือน นอกจากนี้อาหารกระป๋องที่ขายในทางการค้าก็เคยพบ และมีความสำคัญมากในทางสาธารณสุข หลังจากนั้นอาจจะสืบถามอาหารชนิดอื่นต่อไป หากการสอบสวนทางระบาดวิทยาบ่งชี้ชนิดของอาหารแล้ว อาจจะต้องมีการเรียกคืนอาหารชนิดนั้นจากท้องตลาดทันที การตรวจค้นผู้ป่วยและผู้สัมผัสจะต้องเก็บตัวอย่างน้ำเหลืองและอุจจาระ เพื่อส่งห้องปฏิบัติการกลาง ในการตรวจละเอียดต่อไป
ง. โอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่ : ไม่มี
จ. มาตรการระหว่างประเทศ : ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในเชิงธุรกิจ อาจมีการจำหน่ายออกไปอย่างกว้างขวาง การร่วมมือระหว่างประเทศอาจจำเป็นเพื่อการเรียกเก็บและการตรวจละเอียด


แอนแทรกซ์ >  < พิษจากมันสำปะหลัง >

 

นายสัตว์แพทย์ธีรศักดิ์..ชักนำ.