Cassava Poisoning Bureau of Epidemiology, DDC, MPH  

นางสาววันทนีย์ วัฒนาสุรกิตต์

Cassava (มันสำปะหลัง)

เป็นอาหารหลักของประชาชนมากกว่า 500 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนา พบแหล่งผลิตใหญ่อยู่ใน อัฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ 1 ในประเทศต่างๆทั่วโลกพบผลิตมากที่สุดในโลก คือ บราซิล รองมาคือ ไทย ไนจีเรีย เซเร่ และอินโดนีเซีย 2

ในประเทศไทยจากข้อมูลปี 2546 มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 165,773,976 ไร่ ปลูกมันสำปะหลัง 7,831,495 ไร่ คิดเป็นอันดับ 5 ของประเทศ พื้นที่ปลูกมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองมาคือ ตะวันออก เหนือ ตะวันตก และกลาง สามารถปลูก ระหว่างเดือน กรกฏาคม-ธันวาคม และเดือน มกราคม-มีนาคม มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ใช้ทำเอทานอลเพื่อผลิตเป็น แก๊สโซฮอลรองรับสถานการณ์น้ำมันราคาแพง และผลิตแป้ง มันอัดเม็ด 3

มันสำปะหลังแบ่งเป็น 2 ชนิด4 คือ

1. ชนิดหวาน ใช้เพื่อบริโภค มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขม สามารถใช้หัวสดทำอาหารได้โดยตรง เช่น นำไปนึ่ง เชื่อม ทอด ซึ่งได้แก่พันธุ์ 5 นาที และพันธุ์ระยอง 2

2. ชนิดขม มีรสขมไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์ หรือใช้หัวสดเลี้ยงสัตว์โดยตรง เนื่องจากมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ต้องนำไปแปรรูปเป็นมันอัดเม็ดหรือมันเส้นแล้วจึงนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ ซึ่งได้แก่ พันธุ์ระยอง1, พันธุ์ระยอง 3 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง60 พันธุ์ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50

ในประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกชนิดขมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม โดยพันธุ์ที่ปลูกมากคือพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย4

Cassava หรืออีกชื่อ tapioca plant คือมันสำปะหลัง ในส่วนราก อุดมด้วย คาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้พลังงานต่อร่างกาย มี Vit. A ,B และC มีโปรตีนต่ำ ให้ใยอาหารจำนวนมาก ส่วนใบมีโปรตีนสูง และวิตามินมาก6 มันสำปะหลังหวานจะมีพิษน้อยกว่าชนิดขม ถ้ากินดิบระบบย่อยจะดูดซึมพิษ ไซยาไนด์ ไม่แนะนำให้กินดิบเพราะไซยาไนด์ อยู่ในรากเป็น Hydrocyanic acid หรือ prussic acid สะสมอยู่ที่ผิวCassava สารไซยาไนด์ชนิดนี้เป็นสาเหตุของ Cyanogens พิษจากรากของมันสำปะหลังอยู่ที่เปลือกและการปรุงไม่ถูกต้อง จะมีพิษถ้าไม่นำมาปรุงสุก การเตรียมปรุงจะเอาผิวเปลือกออก ควร บด ขุด ก่อนปรุงแล้วพิษจะออกไป การต้มโดยเฉพาะรากควรนำมาต้ม 30 – 40 นาที แล้วทิ้งน้ำที่ต้ม ถ้าเป็นใบให้ต้มมากกว่า 10 นาที ถ้าใบแก่ให้ต้มนานกว่านี้ รากของ Cassava ใช้ทำอาหาร ทำแป้ง แยม มันหวาน น้ำซุป ซอส และเค็ก 5

การเป็นพิษ หากรับประทานมันสำปะหลังดิบ ในส่วนหัว ราก ใบ จะมีพิษทำให้ถึงตายได้ เนื่องจาก cytochrome glycosides มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง ถ้ากินพืชที่มีสารนี้สด ๆ จะอาเจียน หายใจขัด ชักกระตุก กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบาก อาการรุนแรงมาก ลมหายใจมีกลิ่นไซยาไนด์ ทำให้เสียชีวิตได้ 6 พบอาการพิษแบบฉับพลันคือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน และอุจจาระร่วง 5 โดยทั่วไปอาการที่พบมี 2 อาการสำคัญ คือ อาการ Konzo และ Tan

อาการเรียกว่า Konzo หมายถึง tied legs มีอาการอัมพาตฉับพลันที่ขาทั้ง 2 ข้างในเด็กและผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดขึ้นหลังจากทำงานหรือเดินเป็นเวลานาน หรือนอนในเวลากลางคืน เป็นโรคเกิดจากความบกพร่องในการควบคุมการเคลื่อนไหวประสาทส่วนบน พบครึ่งของผู้ป่วยจะไม่สามารถกลับมายืนหรือเดินได้ 5

อาการที่เรียกว่า Tan (Tropical ataxic neuropathy) เป็นอาการที่เกิดจากพิษของ Cassava poisoning เป็นที่รู้จักมากกว่า 1 ศตวรรษ ในหลายประเทศของอัฟริกา อินเดียตะวันตก และเอเซีย อาการป่วยค่อยปรากฎและเป็นระยะยาว พบในคนฐานะยากจนชายหญิง อายุ 50 - 60 ปี และไม่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ในคนจนที่บริโภคซ้ำ ๆ อาการเป็นพิษ มีชา ความรู้สึกผิดปกติ ตาพร่ามัว สูญเสียการมองเห็น เสียการทรงตัว หูหนวก ขาลีบ 5

สถานการณ์จากการเฝ้าระวังโรค

สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานโรคอาหารเป็นพิษจากมันสำปะหลังครั้งแรก ในปี พ.ศ 2516 จำนวน 5 ราย เสียชีวิต 1 ราย ต่อมาพบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานถึง 8 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2524) มีผู้ป่วยระหว่าง 5 - 40 รายต่อปี เสียชีวิตระหว่าง 1 - 2 รายต่อปี 2 ปีต่อมา ไม่มีรายงานผู้ป่วยและเริ่มมีรายงานอีก ปี พ.ศ. 2527 - 2532 ระหว่าง 1 - 11 รายต่อปี เสียชีวิต 1 ราย หลังจากนั้นไม่มีรายงานผู้ป่วยอีกเลยนานถึง 11 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2543)7 จนกระทั่งเริ่มมีรายงานผู้ป่วยอีกใน ปี พ.ศ. 2544 - 2548 ปี พ.ศ. 2544 มีรายงานผู้ป่วย 164 ราย (อัตราป่วย 0.26 ต่อประชากรแสนคน) (รูปที่ 1) เพิ่มขึ้น เป็น 261 ราย ในปี พ.ศ. 2545 (อัตราป่วย 0.42 ต่อประชากรแสนคน) ในปี พ.ศ. 2546 มีผู้ป่วย 148 ราย (อัตราป่วย 0.24 ต่อประชากรแสนคน) ในปี พ.ศ. 2547 มีผู้ป่วย 135 ราย (อัตราป่วย 0.22 ต่อประชากรแสนคน) พบผู้ป่วยชาวเมียนม่าร์ 2 ราย ไม่ระบุชาติ 1 ราย พบแนวโน้ม ปี พ.ศ. 2544 - 2548 ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มอายุ ตามอายุที่มากขึ้น โดยเรียงลำดับน้อยไปมาก ได้แก่ กลุ่มอายุ 1-4 ปี, 5-9, 10-14, 15-24, และ 25+ ปี (รูปที่ 2)

ในปี พ.ศ. 2548 มีผู้ป่วย 175 ราย อัตราป่วย 0.28 ต่อประชากรแสนคน เป็นคนไทยทั้งหมด อายุตั้งแต่ 1 - 65+ปี ร้อยละ 74.9 เป็นกลุ่มอายุ 15 - 54 ปี ผู้ป่วยอายุ 1 - 14 ปี ร้อยละ 14.3 (ตารางที่1) พบอัตราป่วยสูงในกลุ่มอายุ 15 - 44 ปี (รูปที่3) ผู้ป่วย เป็นหญิง 123 ราย ชาย 52 ราย อัตราส่วนหญิง : ชาย เท่ากับ 2.4 : 1 ในวัยแรงงาน (กลุ่มอายุ 10 - 64 ปี) อัตราส่วนหญิง : ชาย เท่ากับ 2.7 : 1 สถานภาพผู้ป่วยเป็นคู่ ร้อยละ 57.7 รองมาเป็นโสด ร้อยละ 41.1 (ตารางที่ 1) อาชีพที่พบมากตามลำดับ คือ เกษตรกรรม ร้อยละ 35.4 รองลงมาคือ รับจ้าง นักเรียน ร้อยละ 26.3, 17.1 อาชีพอื่น ๆ ระหว่าง ร้อยละ 4.0 - 0.57ได้แก่ ข้าราชการ ค้าขาย งานบ้าน ทหาร

ภาคกลาง รับจ้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ นักเรียน ค้าขาย และ เกษตรกรรมตามลำดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่วยมากในอาชีพ เกษตรกรรม นักเรียน และรับจ้าง ตามลำดับ (ตารางที่ 2) จังหวัดอุดรธานี เป็นนักเรียนทั้งหมด ร้อยละ100.0 (17/17) เกษตรกรรม ร้อยละ 46.8 (29/62)

ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองมาคือ ตะวันออก เหนือ ตะวันตก และกลาง แนวโน้มผู้ป่วยตามภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2548 แต่ละปีไม่ต่างกันมาก มีการกระจายของผู้ป่วยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองมาเป็นภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ตามลำดับ (รูปที่ 4) สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูก สำหรับ ปี พ.ศ. 2548 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จะเป็นผู้ป่วยหญิงมากกว่าชาย คิดเป็น 2.8 เท่า และ 2.4 เท่า (ตารางที่ 1) พบผู้ป่วยใน 10 จังหวัดอันดับแรก จากมากไปน้อย ตั้งแต่ 4.69 - 0.33 ต่อประชากรแสนคน คือ จังหวัด ปราจีนบุรี อุดรธานี เพชรบุรี สระแก้ว สุรินทร์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี นครราชสีมา มหาสารคาม (รูปที่5) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 92.58 เขตเทศบาล ร้อยละ 7.42

มันสำปะหลังจะสามารถปลูก ปีละ 2 ครั้ง ระหว่างเดือน กรกฏาคม-ธันวาคม และเดือน มกราคม-มีนาคม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2544 - 2548) ผู้ป่วยจะพบมากในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม โดยเริ่มมากในเดือนพฤษภาคม สูงในเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม (รูปที่6) ในปี พ.ศ. 2548 จำแนกผู้ป่วยตามภาค เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีผู้ป่วยมากถึง ร้อยละ 90.85 (159/175)โดยจะมากในเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม และลดต่ำในเดือน พฤศจิกายน- ธันวาคม และจะมากอีกในเดือน มกราคม –มีนาคม (รูปที่ 7)

ในปี พ.ศ. 2548 ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากมันสำปะหลัง (Cassava poisoning) ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนมากที่สุด รองมาคือ โรงพยาบาลศูนย์ สถานีอนามัย และ โรงพยาบาลทั่วไป ร้อยละ 84.0, 12.57, 2.85, 1.14 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 86.85 ผู้ป่วยใน ร้อยละ 13.15









เอกสารอ้างอิง

1.     Holly wagner Ohio state University, Researchers get to the root of Cassava ‘s cyanide – Producing Abilities. 3 May 2004. Available from:http//www.innovations-report.com/htm/reports/Agriculteral.

2.     Stephen k.o’Hair,Tropical Research and education center University of Florida, Cassava .1, Jan 2004 Available from: http//www.hort.purdu e.edu/new crop fact sheet/cassava.html.

3.     ทิศทางการเกษตร : เร่งพัฒนาอ้อย มันสำปะหลังผลิตเอทานอล หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 7 มกราคม 2546

4.     เรียนรู้มันสำปะหลัง หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 3 เมษายน 2547 ; ปีที่13 : ฉบับที่ 4874.

5.     cyanide intoxication and cyanide diseases : cassava cyanide disease network ;towards the elimination ,Tan and other cassava cyanide disease Available from: www.anu.edu.au/BoZo/CCDN/two.html 6k-22 Dec , 2004.

6.     สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลพืชพิษ: มันสำปะหลัง. ฐานข้อมูลพืชพิษ. 12 ธันวาคม 2546. Available from: webdb.dmsc.moph. go.th/poison/index.asp.

7.     สำนักระบาดวิทยา : ข้อมูลทางระบาดวิทยา โรค Cassava poisoning. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2548




โบทูลิซึม >  < อหิวาตกโรค >

นางสาววันทนีย์ วัฒนาสุรกิตต์..